
ว่าแล้วก็ไปซื้อตั๋วรถไฟคู้นอน กรุงเทพ-เด่นชัย (น่านไม่มีรถไฟไปถึง) อ่ะ ดูรูปหัวลำโพงไปก่อน
เห่อะๆๆ…
จริง ๆ ไปน่านไม่ต้องไปลงรถไฟที่เด่นชัยก็ได้ รถทัวร์ก็มี แต่ว่าโดยส่วนตัวชอบนั่งรถไฟ และยังได้สัมผัสบรรยากาศสองแถว ตลาดที่เด่นชัยอีกด้วย ก็เลยเลือกไปรถไฟ
จากสถานีเด่นชัย นั่งสองแถวไปอ.เมืองแป้(ก็ แพร่ น่ะแหละเจ้า) สองแถวสีน้ำเงิน ค่ารถคนละ 20 บาท แล้วมาลงที่ท่ารถ ต่อรถบัสเล็กที่วิ่งระหว่าง น่าน - เด่นชัย ไปอีกที (ค่ารถเด่นชัย-น่าน 40 กว่าบาท ถ้าจำไม่ผิด)
ถึงเมืองน่าน ร้อยทั้งร้อย ต้องชอบไฟเขียวไฟแดงที่นี่ทุกคนอิอิ น่ารักอ่ะ ชอบๆ ครีเอทมากๆ มีหลังคาจิ่วครอบอยู่ มีกาแลด้วยนะ.. มีอันนึงสวยกว่านี้อีกแต่ถ่ายไม่ทัน
จากท่ารถเมืองน่าน นั่งสองแถวไปเกสต์เฮาส์ราคาตกลงกันเอง แต่ไม่น่าเกิน 20 บาท
เราพักที่ดอยภูคาเกส์เฮาส์ มาคนเดียว 70 บาท - 2 คน 120 บาท ห้องพัดลม เป็นลักษณะแบบอยู่กับครอบครัว
เจ้าของบ้านใจดี แขกที่มาพักส่วนมากจะเป็นต่างชาติแต่คนไทยก็ยินดีต้อนรับจ้ะ อยู่ในซอยวัดอรัญญาวาส
(จริงๆห้องอื่นเค้ามีเตียงด้วย ห้องเราไหงไม่มีหว่า แต่ดีเหมือนกัน สบายไปอีกแบบ)
ห้องน้ำรวมนะ มีน้ำอุ่น 1 ห้องที่เหลือเป็นน้ำเย็น
หิวแล้วล่ะซิ เดินออกมาด้านถนนสุมนเทวราช มีให้เลือกหลายร้าน วันแรกเจอร้านก๋วยเตี๋ยวนี่ เราพุ่งเข้าไปก่อนเลย ตอนนี้สามารถกินควายได้ทั้งตัว(เสียดายเค้าไม่มีขาย) สั่งบะหมี่ต้มยำมาแทน อร่อย! 20 บาท
จะเดินเล่นก็ได้ แต่ตามประสาคนขี้เกียจ จึงไปเช่าจักรยานกันมาคันละ 50 บาท/วัน ที่ร้าน ป.ไบค์ ถนนเดียวกัน ขี่มันทั่วเลยทีนี้(แถมเอารถไปคืนเค้าช้าอีกต่างหาก) ภาพจักรยานอันนี้ถ่ายจากฝั่งพิพิธภัณฑ์ ฝั่งนู้นเป็นวัดช้างค้ำ
เกี่ยวกับวัดช้างค้ำ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง หลักฐานตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ที่ค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพ ฤๅชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะ วิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
วัดนี้มีเจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปช้างโผล่ออกมาครึ่งตัว นอกจากนั้นวัดช้างค้ำยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลาชื่อ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65% สูง 145 เซนติเมตร ยอดพระโมฬี ทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2524 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 ประดิษฐานอยู่ที่กุฏิเจ้าอาวาส
(เค้าว่าเมื่อก่อนเอาปูนโบกไว้ด้านนอกองค์พระ จนปูนกระเทาะออกมาถึงได้เห็นว่าข้างในเป็นทอง)
หู เหมือนในเรื่ององค์บากเลยแฮะ
จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ อันนี้ห้ามพลาด สวยมากๆ บางรูปก็เลือนๆไปบ้างแล้ว เห็นเค้าว่าเป็นที่เดียวที่มีจิตรกรรมฝาผนังรูปคนที่มีขนาด
เท่าคนจริง (ตอนดูก็ไม่ได้สังเกตุซะอย่างนั้นน่ะ) เดี๋ยวคราวหน้าต้องไปดูใหม่ซะแล้ว
วัดภูมินทร์ เป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่นๆคือ พระอุโบสถและ วิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากรได้
สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย)
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2410 โดยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครน่าน โปรดให้ซ่อมแซมเป็นครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของวัดนี้คงจะวาดในสมัยที่ซ่อมแซมครั้งใหญ่นี้ สำหรับช่างผู้วาดนั้น ไม่ปรากฏประวัติ ทราบแต่ว่าเป็นศิลปกรรมแบบชาวไทยลื้อ
เราอาจจะเห็นมีคนเอามาวาดเลียนแบบลงกล่องไม้ ลงแผ่นไม้ต่างๆ ที่เราเห็นตามจตุจักรก็มี อาจจะคุ้นๆตากันอยู่บ้าง
เช้าวันที่สอง ตื่นมาก็เกือบเจ็ดโมงเช้าแล้ว ถามเจ้าของบ้านว่าไปใส่บาตรที่ไหนดี ที่เค้ามีอาหารขายด้วย พี่เจ้าของบ้านบอกว่าให้ลองไปหน้าโรงแรมเทวราช
เลยปั่นจักรยานไปใส่บาตรที่หน้าโรงแรมเทวราช มีร้านข้าวแกงอยู่ อาหารน่าทานมาก มีคนมานั่งทานอาหารเช้ากันบ้างแล้วพอสมควร พี่ชายคนนึงคิดว่าคงทำงานแบ๊งค์ กินอาหารเช้าไป รอพระไป แถมยังใส่ชุดทำงานออฟฟิศ แล้วอู้คำเมืองด้วย น่ารักดี
พระที่นี่ท่านให้พรยาวกว่าแถวบ้านเราอีกแฮะ
ใส่บาตรเสร็จก็ทานอาหารเช้าที่ร้านต่อเลย ชุดไข่ดาว หมูแฮมนี่ก็ 40 บาท สั่งกาแฟมา 1 แก้ว ส่วนกาน้ำชาหอมๆนี่ฟรีจ้ะ
แหม จักรยานเช่ามาวันละ 50 บาทนี่คุ้มจริงๆ ปั่นซะน่องโป่งเลย(แต่พุงเท่าเดิม) ข้ามแม่น้ำน่านออกจากตัวเมืองไปซัก 2 กิโลกว่า ๆ ตามเส้นทาง น่าน-แม่จริม
แล้วก็ถึงแล้วพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำปีเถาะ อายุกว่า 600 ปี เข้าแล้วตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย
ไปกินอาหารเวียดนามบนถนนมหายศ กันเนอะ หน้าร้านจะมีป้าย “อาหารเพื่อสุขภาพ” อยู่ตรงป้ายชื่อถนนมหายศพอดีเลย เป็นร้านกาแฟด้วย
บรรยากาศน่ารักมากๆ
วัดนี้หาในเที่ยวเมืองไทยกับนายรอบรู้ ไม่ยักเจอ พอดีผ่านไป เห็นไกลๆ โอ้โห อลังการขนาดนี้ ไม่แวะชมไม่ได้แล้ว วัดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน
ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมืองอีกด้วย
ลังเลกันอยู่ตีนเขาน่ะแหละ ว่าขึ้นดีไม่ขึ้นดี กะโบกรถเต็มที่ (คิดดูขี้เกียจแค่ไหน) ลองปั่นจักรยานขึ้น ไม่ไหวเว้ยเฮ้ย ต้องลงมาเดิน
พอดีมีลุงคนนึงจ๊อกกิ้งผ่านมา
“ลุงคะ ขึ้นไปอีกไกลมั้ย หนูจะเอาจักรยานขึ้นไป”
“อุ้ย ไม่ไกลหร๊อก กิโลนึงได้ แล้วเดินขึ้นบันไดไปอีกหน่อย”
(อ๋อ)
แล้วดูบันไดอีกหน่อยของลุงซิ.. โอว์ แม่เจ้า กว่าจะขึ้นไปถึงยอด จากตรงนี้ (วัดเขาน้อย)จะมองเห็นตัวเมืองน่านทั้งหมด
ที่มา http://beebah.wordpress.com/2004/02/03/nan-thailand/
{mosloadposition user26} | {mosloadposition user27} |
{mosloadposition user28} |